1 จิตรสาธารณะ
คำว่าจิตรสรธารณะ หมายถึงบุคลที่มีจิตรสำนึกทางสังคมที่มีความรับผิดชอบ และเสียสละเพื่อส่วนรวม เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น มากกว่าประโยชน์ส่วนตน ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งเป็นทุนทางสังคมที่มีศักยภาพ ที่พัฒนาให้เกิดประโยชน์สาธารณะขุมขน
2. ปราชญ์ชาวบ้าน
ปราชญ์ชาวบ้าน คือบุคคลที่ได้รับการยกย่องจากชาวบ้านทั่วไปว่าเป็นผู้มีภูมิปัญญา มีความรู้ความสามารถในการอธิบาย และแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นคนที่มีคุณธรรม เพราะภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่เป็นองค์รวมของชีวิต
ชุมขนในปัจจุบันมีความสำคัญยิ่ง ที่จะต้องมีปราชญ์ชาวบ้านที่จะมาช่วยแก้ปัญหาชุมชน ช่วยให้ผู้คนเห็นคุณค่า และความหมายของชีวิต เข้าใจสาเหตุของปัญหา และเป็นผู้นำในการแสวงหาทางออกด้วยสติปัญญา
3. โลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์เป็นคำที่ใช้เพื่อบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมโลกที่กว้างใหญ่ไพศาล ให้กลายเป็นใบเล็ก ทุกอย่างสัมพันธ์กันทั้งการผลิต การบริโภค การสื่อสารและเทคโนโลยี ก่อให้เกิดผลต่อสภาวะทางเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม
กระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้ชุมชนเริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมยุคใหม่อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถ้าจะมองว่าเป็นเรื่องดีของความเจริญ แต่คนที่ไม่เข้าใจทำให้เสียโอกาสเพราไม่รู้เท่าทัน
4. ชุมชนเข้มแข็ง
ชุมชนเข้มแข็งเป็นชุมชนเรียนรู้ เพราะหากมีความรู้ ภูมิปัญญาก็สามารถ ค้นหาตัวเองสืบคน และพัฒนาทุกท้องถิ่น ซึ่งรวมถึง ทุนทรัพยากร ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคมเพื่อพัฒนาไปสู่การพึ่งตนเอง เป็นชุมชนที่ตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ธรรมมาภิบาลในการบริการจัดการชุมชน ในทุก ๆ ด้าน และมีเครือข่าย ความสัมพันธ์กับชุมชนอื่น แบบภาคี พันธมิตร ไม่ใช่แบบอุปถัมภ์
5. การแพทย์ทางเลือก
การแพทย์ทางเลือก หมายถึงการแพทย์ใดๆที่อยู่นอกขอบเขตการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์ทางเลือกครอบคลุมขอบเขตกว้างขวางของการดูแลรักษาสุขภาพทั้งแนวคิด ปรัชญา หลากหลายวิธีที่ปรากฏในแต่ละวัฒนธรรมของท้องถิ่น
การรักษาจึงหมายถึงการทำให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อรักษาตัวเองและป้องกันโรค การป้องกัน หรือสร้างแข็งแรงให้ร่างกาย จึงเป็นวิธีการที่ดีกว่าการรักษา หรือเรียกว่าสร้างนำซ่อม
6. การพึ่งตนเอง
การพึ่งตนเอง หมายถึง การจัดชีวิตให้สัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับคน กับสังคม กับธรรมชาติรอบ ๆตัวเรา การพึ่งตนเองหมายถึงการมีสวัสดิการและความมั่นคงในชีวิตในปัจจุบันถึงอนาคต
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นรากฐานของการพึ่งตนเองทั้งระดับครอบครัว ระดับชุมชน และระดับสังคมโลกรวม หลักการพึ่งตนเอง และอยู่อย่างพอเพียงภายใต้ 3 อย่าง 2 เงือนไข
- ความพอประมาณ
- ความมีเหตุผล
- ภูมิคุ้มกัน
- เงื่อนไขความรู้
- เงื่อนไขคุณธรรม
7. การมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชน เริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา เพื่อแสดงว่าโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่นำๆปให้ชาวบ้านในชุมขนต่าง ๆนั้น ประชาชนในถิ่นที่มีส่วนร่วม บ้างก็บอกว่ามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ชุมชนมีส่วนร่วมสมทบงบประมาณ
การมีส่วนร่วมของประชาชน มีความหมายสำคัญวันนี้ที่ส่วนร่วมในการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย การบริการจัดการทรัพยากร การบริการจัดการชุมชน คน ทุนของสังคม จึงต้องมีการแยกแยะเนื้อหาและรูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้เหมาะสม
การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงไม่ใช่รูปแบบของการเลือกตั้งในทุกระดับ และไม่ใช่เพียงไปหางบประมาณ 5 – 10 % มาสมทบ ไม่ใช่แค่การไปร่วมรับฟังการประชุม เสนอโครงการมาพัฒนาท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของประชาชนคือการแสดงออกถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชนในการจัดการทนชุมขน จัดการชีวิตของตนเอง
8. การจัดการความรู้ ( Knowledge Manogement )
การจัดการความรู้ทำให้เกิดการพัฒนาคน งาน และองค์กร เพราะการเสวนาเกิด
ปฎิสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ที่ต่างกัน ทำให้เกิดความรู้ใหม่
เกิด นวัฒกรรมในองค์กร เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้งานมีประสิทธิภาพ องค์การจัดการดีขึ้น เกิดเป็นองค์แห่งการเรียนรู้ที่พัฒนาตนเองบนพื้นฐานความรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง การจัดความรู้วันนี้เป็นกระบวนการที่ใช้ได้ทุกภาคส่วน องค์กร สถาบัน และบุคคล
9. การศึกษานอกระบบ
การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย ที่ไม่ได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียน เป็นการศึกษาที่ผู้เรียนเลือกเรียนได้หลายวิธี ผสมผสานกับการเรียนรู้จากสังคม เพื่อให้ได้ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ นำไปพัฒนาศักยภาพของตัวเองในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
10. มหาลัยชีวิต
มหาลัยชีวิต เดิมเป็นชื่อโครงการที่จัดการศึกษาให้ผู้ใหญ่ในชุมชนทั่วประเทศในระดับอุดมศึกษา ในสาขา สหจิตยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ได้สงเคราะห์ความรู้ และพัฒนาหลัดสูตรดังกล่าวจากประสบการณ์การทำงานในชุมขน เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เรียนแล้วสมารถอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และมีกินในท้องถิ่นของตัวเองโดยไม่ต้องไปทำงานที่อื่นก็อยู่ได้ เรียนแล้วช่วยตัวเองได้ ช่วยคนอื่นได้
11. ป่าชุมชน
ป่าชุมชนหมายถึง พื้นที่ป่าไม้ที่ได้รับการจัดการโดยประชาชนในท้องถิ่น หรือกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์กรชุมชน ตามความเชื้อ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
12. ไบโอดีเซล
ไบโอดีเซล เป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ผลิตจากน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ เช่นสบู่ดำ ปาล์ม มะพร้าว ดอกทานตะวัน ถั่วเหลือง นำมันงา น้ำมันพืช และน้ำมันพืช / น้ำมันสัตว์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว และนำมาปฎิกิริยาทางเคมีกับน้ำมันดีเซล เรียกว่า ไบโอดีเซล หรือ Bioo คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซล คือสามารถย่อยสลายได้เอง ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ แ ละ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น